เกี่ยวกับโครงการ

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) หรือ ONDE กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขอเชิญนิสิต นักศึกษา  อายุ 16-24 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขัน“Hackulture นวัต..วัฒนธรรม” : เรียงร้อยวัฒนธรรมไทย…สู่โลกดิจิทัล ภายใต้โครงการ Digital Cultural Heritage Thailand

กรอบแนวคิดหลัก และภาพรวมของโครงการ

กรอบแนวคิดหลักของโครงการ Digital Cultural Heritage Thailand จะอยู่ภายใต้คำสำคัญ3 คำ คือ Learn (เรียนรู้) Play (เล่น) และ Pride (ภาคภูมิใจ) เพื่อเล่ามรดกวัฒนธรรมไทยผ่านเครื่องมือดิจิทัล

ทั้งนี้ การถ่ายทอดแบรนด์ของโครงร่าง และหลักปรัชญาของโครงการเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ด้านมรดกวัฒนธรรม การดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมมรดกวัฒนธรรม และการสร้างความภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมตามหลักการข้างต้น มีเป้าหมายหลักคือคนไทยทุกคน เนื่องจากคนไทยทุกคนถือเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน นอกเหนือจากนั้นยังสามารถดำเนินการและถ่ายทอดไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการผ่าน 3 กระบวนการ ได้แก่

กระบวนการที่ 1 ผลการศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์ความรู้ด้านมรดกวัฒนธรรม และการกับการธำรงรักษามรดกวัฒนธรรม นโยบายสาธารณะสำหรับมรดกวัฒนธรรม และแผนปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับโครงการฯ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมกระบวนการห้องปฏิบัติการนโยบายสาธารณะและกิจกรรมการเรียนรู้และแข่งชันเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถเป็นการสร้างแบรนด์หลักของมรดกวัฒนธรรมให้มีความแข็งแกร่ง เป็นที่รับรู้แก่ประชาชนทั่วไป และสามารถต่อยอดให้แบรนด์ดำเนินต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งเป็นขั้นตอนของการได้มาซึ่งการจัดการองค์ความรู้และข้อมูลด้านมรดกวัฒนธรรม

กระบวนการที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนโยบายสาธารณะ (Policy Lab) เป็นหนึ่งในกิจกรรมสนับสนุนโครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวม สังเคราะห์นโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการธำรงรักษามรดกวัฒนธรรมให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล คอนเทนต์ ซึ่งเป็นการออกแบบนโยบายสาธารณะ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. เพื่อนำร่องการดำเนินการตามข้อริเริ่มทางนโยบายในการส่งเสริมการถ่ายทอดทรัพยากรวัฒนธรรมของชาติ ให้อยู่ในรูปแบบ Digital Content ตามนโยบายและแผนระดับชาติ
    ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 – 2580) 
  2. เพื่อเสนอแนะแนวทาง/มาตรการ และระบบนิเวศ (Ecosystem) ในการส่งเสริมการถ่ายทอดทรัพยากรวัฒนธรรมของชาติให้อยู่ในรูปแบบ Digital Content ในรูปแบบที่ยั่งยืน

กระบวนการที่ 3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ (Hackathon) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมที่สนับสนุนโครงการ ซึ่งเป็นกิจกรรมต้นแบบในการเสริมสร้างการธำรงรักษามรดกวัฒนธรรม ดังมีรายละเอียดของวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อสร้างสรรค์ทรัพยากรวัฒนธรรมให้อยู่ในรูปแบบ Digital Content และเผยแพร่ผ่านช่องทาง Digital Platform เพื่อเป็นสมบัติของชาติ เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้ และเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
  2. เพื่อส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่ให้หวงแหนในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
  3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้าน Digital Content รองรับอุตสาหกรรมดิจิทัล
    และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ (Hackathon)

กิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ (Hackathon) จะดำเนินการภายใต้แนวคิดหลักของโครงการที่ชื่อว่า Digital Cultural Heritage Thailand เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นเยาวชนระดับอุดมศึกษาได้ศึกษา เรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันเกี่ยวกับการธำรงรักษามรดกวัฒนธรรมไทยผ่านเครื่องมือดิจิทัล การออกแบบกิจกรรม Hackathon อยู่ภายใต้โมเดลที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่นบนพื้นฐานของ Learn (เรียนรู้) Play (เล่น) และ Pride (ภาคภูมิใจ) ภายใต้หัวข้อ/ธีม “เห็น…แต่ไม่เคยรู้” ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่