ข้อมูลวัฒนธรรม

เครื่องแต่งกายไทย 4 ภาค

ประเภท

จับต้องได้

หมวดหมู่

วัฒนธรรมการแต่งกาย

ชื่อผลงาน

Y2THAi

เนื้อหา

ประเทศไทยประกอบไปด้วยภาคต่างๆ จำนวน 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ แต่ด้วยสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมการแต่งกายของแต่ละกลุ่มคนจึงมีเอกลักษณ์เป็นของตน ภาคเหนือแต่งตัวไม่เหมือนภาคใต้ วัฒนธรรมจึงหมายถึงสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้น สร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามของกลุ่ม ชุมชน หรือประเทศตน และได้ถ่ายทอดกันไว้ เอาอย่างกันไว้ รวมถึงผลิตผลที่ได้เรียนรู้มาจากคนสมัยก่อน สืบต่อเป็นประเพณีกันมาตามลักษณะการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ภูมิประเทศ ความเชื่อ ศาสนา เป็นต้น วัฒนธรรมการแต่งกายภาคเหนือ การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ ของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ผ้าถุงจะมีความประณีต ตีนซิ่นจะมีลวดลาย งดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับและเกล้าผม 5 6 ส่วน ผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาว 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” “เตี่ยวสะดอ” หรือ “เตี่ยวกี” ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงิน หรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงิน หรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม วัฒนธรรมการแต่งกายภาคกลาง ตามธรรมดาคนไทยสมัยโบราณ ไม่นิยมสวมเสื้อผ้าแม้แต่เวลา เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว จึงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาภาษาอังกฤษ และวัฒนธรรมตะวันตกขึ้นในราชสำนัก จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายสตรี โดย ผู้หญิง เลิกไว้ผมปีก หันมาไว้ผมยาวประบ่า การแต่งกาย นุ่งผ้าลายโจงกระเบน เสื้อผ่าอก แขนยาว ห่มแพร จีบตามขวาง สไบเฉียงทาบบนเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ถ้าอยู่บ้านห่มสไบไม่สวมเสื้อ เมื่อมีงานพิธีจึงนุ่งห่มตาด เครื่องประดับ สร้อยคอ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล แหวน เข็มขัด ผู้ชาย เลิกไว้ทรงมหาดไทย หันมาไว้ผมยาวทั้งศีรษะ ผมรองทรง พระมหากษัตริย์ และพวกราชทูตไทยจะแต่งตัวแบบฝรั่งคือ สวมกางเกง ใส่เสื้อนอกคอเปิด สวมรองเท้าคัทชู วัฒนธรรมการแต่งกายภาคใต้ มีการแต่งกายด้วยผ้าหลายรูปแบบ ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน ผ้ามัดย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้คือผ้ายก เป็น ผ้าที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากแต่ชาวบ้านทั่วไป แบบ เดิม นุ่งผ้า คล้ายผ้าขาวม้ามีสีแดง การนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือบาติกที่มีลวดลายสีสันหลากหลาย เป็นความนิยม ในช่วงหลังจากการรับอิทธิพลของผ้ามาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งที่มีความคล้ายกับ ผ้าขาวม้าของทางภาคอีสาน ผู้ชายส่วนใหญ่จะนิยมนุ่งผ้าโสร่งแต่ผู้หญิง จะนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก ผ้าที่มีชื่อเสียงของภาคใต้คือ ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราชผ้าทอเกาะยอ ผ้าทอนาหมื่นสีผ้าทอพุมเรียง ผ้าหางกระรอก ผ้าปาเต๊ะผ้าทอปัตตานี เป็นต้น การแต่งกายนั้นแตกต่างกัน ในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตาเชื้อชาติของผู้คน อันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้ วัฒนธรรมการแต่งกายภาคอีสาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และยังมีกลุ่ม ชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญยิ่ง ในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสาน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหม แม้ว่าใน ปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกันในแถบ อีสานเหนือคือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิดและผ้าแพรวา ผ้ามัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้า พื้นเมืองที่ใช้กรรมวิธีในการย้อมสี อีกกลุ่มคือ กลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์ โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว

ผลงานต่อยอด

วัยรุ่นหลายคนคิดว่า เสื้อผ้าแบบไทยๆ เอามาแต่งตัวยาก แต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ในการผสมผสาน สามารถนำเสื้อผ้าแบบไทยที่หลายคนคิดว่าเชย เอามาทำให้ร่วมสมัยได้ ทีม Y2THAi นำเสนอไอเดียการแต่งกาย (Stylist) ด้วยการผสมผสานเสื้อผ้าแบบไทย พร้อมแนะนำร้านค้า และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ผ่าน สื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมในยุคปัจจุบันอย่าง TikTok ที่นอกจากการนำเสนอเนื้อหาแนะนำการแต่งกายในรูปแบบวิดีโอสั้นแล้วยังมีระบบตะกร้าสินค้าที่ผู้ชมสามารถเลือกซื้อเสื้อผ้าไทยได้ทันที เพื่อส่งเสริมให้เสื้อผ้าไทยกลับมาเป็นที่นิยม และเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย

บุลคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร
นางสาวอิงฟ้า ชยะสุนทร
นางสาวมนภัส เอี่ยมอุดมกาล
นางสาวพิมพ์พิชชา อมรสถิตย์
นางสาวนันท์นภัส กษิดิศกุล
นางสาวสุวรรณธนา นาสูง
นางสาวนภกร สอนชุ่มเสียง

ที่อยู่

มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200