ผ้าปาเต๊ะ


ข้อมูลวัฒนธรรม

ผ้าปาเต๊ะ

ประเภท

จับต้องได้

หมวดหมู่

วัฒนธรรมการแต่งกาย

ชื่อผลงาน

Thai Style

เนื้อหา

ผ้าที่คนไทยเราใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มนั้น จะค้นคิดประดิษฐ์ได้สำเร็จตั้งแต่เมื่อไรนั้น ไม่มีหลักฐานแน่นอนเด่นชัด ทราบแต่ว่า คนไทยเรารู้จักนำเอาฝ้าย ปอ และไหม มาทอเป็นผ้าได้นานแล้ว ปัจจุบันเจริญขึ้น ถึงขั้นค้นคิดประดิษฐ์ใยสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมา ทอเป็นผ้า ดังที่พบอยู่มากมาย ผ้าไทยที่มีความเป็นมายาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อาทิ
ผ้ากาสา เป็นผ้าดิบเนื้อหยาบ ไม่ได้ย้อมฝาด มีสีหม่นไม่ขาวทีเดียว คำว่า กาสา (Kassar) เป็นคำ มลายู แปลว่า หยาบ ผ้ากรองทอง เป็นผ้าที่ถักด้วยแล่งเงิน หรือแล่งทอง ถักให้เป็นลวดลายต่อกันเป็นผืน ส่วนมากนำมาทำเป็นผ้าสไบ ใช้ห่มทับลงบนผ้าแถบ และผ้าสไบอีกทีหนึ่ง มักใช้แต่เฉพาะเจ้านายผู้หญิงชั้นสูง มีขนาดกว้างยาวเท่ากับผ้าสใบ ชายผ้าด้านกว้างปล่อยเป็นชายครุย เมื่อต้องการให้ผ้ากรองทองมีความงดงามเพิ่มมากขึ้น นิยมนำปีกแมลงทับมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เหมือนรูปใบไม้ และปักลงไปบนผ้ากรองทอง ในตำแหน่งที่คิดว่า จะสมมุติเป็นลายใบไม้ ผ้าเกี้ยว ผ้าคาดเอว มีทั้งผ้าลายพิมพ์ ผ้าไหม ฯลฯ
ผ้าขาวม้า เดิมเรียก ผ้ากำม้า เป็นผ้าประจำตัวของผู้ชาย ใช้เป็นทั้งผ้านุ่ง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเคียนพุง และผ้าพาดไหล่ เป็นผ้าฝ้ายผืนยาวทอเป็นลายตาตาราง
ผ้าเขียนทอง ผ้าพิมพ์ลายอย่างดี เน้นลวดลาย เพิ่มความสวยงาม ด้วยการเขียนเส้นทองตามขอบลาย ผ้านี้เกิดขึ้นครั้งแรก สมัยรัชกาลที่ 1 และใช้ได้เฉพาะพระมหากษัตริย์ลงมาถึงชั้นพระองค์เจ้าโดยกำเนิดเท่า นั้น
ผ้าตาโถง ผ้าลายตาสี่เหลี่ยม หรือลายตาทแยงใช้เป็นผ้านุ่งของผู้ชายคล้ายผ้าโสร่ง
ผ้าไหม ผ้าอย่างดีทอด้วยไหม มีทั้งแบบเรียบ ยกดอก และเป็นลวดลาย
ผ้าปักไหม เป็นผ้าที่ใช้กันในบรรดาเจ้านายชั้นสูง มีทั้งผ้านุ่ง ผ้าห่ม ซึ่งใช้ห่มทับสไบ ผ้าปูลาด และผ้าห่อเครื่องทรง ส่วนมากใช้ผ้าไหมพื้นเนื้อดี ปักลวดลายด้วยไหมสีต่างๆ ทั้งผืน การปักไหมนี้ ถ้าใช้ไหมสีทองมากก็เรียกว่า ผ้าปักไหมทอง
ปัจจุบันมีการนำผ้าต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้งานในหลากหลายรูปแบบ

ผลงานต่อยอด

“ผ้าถุง” คือคำที่ชาวภาคใต้ใช้สำหรับเรียก ผ้าปาเต๊ะ หรือ ผ้าบาติก จะนิยมสวมโดยเพศหญิง โดยวัยอายุกลางคนและวัยสูงอายุจะนิยมสวมมากที่สุด และถ้าครอบครัวไหนมีลูกสาวก็จะมีการสอนสวม “ผ้าถุง” กัน เปรียบเสมือนเป็นประเพณีการแต่งกายไปโดยปริยาย ซึ่งสรุปความเป็นมาและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้พอสังเขปดังนี้

ผ้าปาเต๊ะ หรือ บาเต๊ะ (Batek) บาติก (Batik) เดิมทีแล้วเป็นภาษาชวา (เป็นภาษาของชาวชวาในภาคกลางและภาคตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย) ที่ใช้เรียกผ้าย้อมสีชนิดหนึ่งที่รวมเอาศิลปหัตถกรรมและเทคนิคการย้อมสีเข้าด้วยกัน

ผู้ที่ริเริ่มการทำผ้าปาเต๊ะคือผู้หญิงในตระกูลสูงของชวา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 จากนั้นชาวดัทช์ได้นำผ้าปาเต๊ะไปเผยแพร่ทั่วทั้งทวีปยุโรป และมีผลตอบรับดีมาก เพราะลวดลายของผ้ามีความแปลกใหม่ ผ้าปาเต๊ะแต่ละท้องถิ่นจะมีลวดลายและรูปแบบที่อยู่บนผ้าไม่เหมือนกัน ซึ่งลวดลายแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างบ่งบอกถึงวิถีการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ หรือวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่

ลวดลายของผ้าปาเต๊ะมีรูปแบบมาจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ หรือรูปเลขาคณิตต่างๆ นอกจากนี้ยังมีลวดลายรูปสัญลักษณ์มงคลตามคติจีน ที่นิยมใช้ในวัฒนธรรมเปอรานากัน (เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีเชื้อสายมลาย) เช่น รูปดอกท้อ ดอกโบตั๋น พัด ลายหงส์ หรือ นกฟินิกส์ ซึ่งเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมมลายูและจีน

บุลคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

1. นางสาวนุชนาฎ หอทอง
2. นายอัครพนธ์ ใจห้าว
3. นางสาวฮัสนา ไหรเจริญ
4. นางสาวมูรณีย์ บาโด
5. นางสาวปาลิตา ลำปัง
6. นางสาวนัสริน บูละ

ที่อยู่

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 222 ถนนพลพิชัย – บ้านพรุ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110