ข้อมูลวัฒนธรรม

ลายผ้าไทย

ประเภท

จับต้องได้

หมวดหมู่

วัฒนธรรมการแต่งกาย

ชื่อผลงาน

Nilla

เนื้อหา

“ผ้าไทย” มีมากมายหลายประเภท แต่ละประเภทมีลวดลายและความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป ลวดลายบนผืนผ้าไทยนั้นบ่งบอกถึงภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

การทอผ้าผื้นเมืองจัดเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า และเอกลักษณ์ของกลุ่มชนที่สร้างสรรค์เอาไว้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ลวดลายบนผืนผ้าเปรียบได้ดังงานศิลปะมีภาษาพูดของตนเองที่ต้องมีการสร้างสรรค์และแสดงแนวคิดเกี่ยวกับลวดลายลงไปบนผืนผ้าอย่างสวยงาม สำหรับผ้าของไทยนั้นเราใช้วัตถุดิบทั้งฝ้ายและไหม ซึ่งคุณสมบัติของเส้นใยของผ้าฝ้ายจะดูดความชื้นได้ว่าย ดังนั้นเมื่อสวมใส่ผ้าที่ทำด้วยผ้าฝ้ายจะมีความรู้สึกเย็นสบาย สำหรับไหมนั้นเส้นไหมมีคุณสมบัติลื่น มัน และยืดหยุ่นได้ดี สำหรับเทคนิค และการทอผ้าไทย มีลวดลายและความแตกต่างกัน ดังนี้

ผ้ามัดหมี่ ลวดลายของผ้ามัดหมี่มีที่มาจากลายไทย ลายฉลุไม้ ตามอาคารไม้ หลังเก่า ที่ฉลุเป็นลายผลไม้ ดอกไม้ สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ้ามัดหมี่นี้นิยมทอทั้งจากฝ้ายและไหม
ผ้าจก ลวดลายในการทอจกจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ โดยที่ไม่ได้กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า ลวดลายบางส่วนมีคติความเชื่อแฝงเอาไว้ เช่นลวดลายของสัตว์ต่างๆ ได้แก่ ลายนาค ลายหงส์ ลายสิงห์ ลายไก่ เป็นต้น
ผ้าขิด ลวดลายในการทอผ้าขิดจะเป็นลายเรขาคณิตขนาดใหญ่เป็นหลัก เช่น รูปแบบของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด รูปแบบของทรงสามเหลี่ยม เป็นต้น
ผ้าแพรวา ลวดลายในการทอเป็นการผสมผสานระหว่างลายขิดและลายจก ลายหลักที่นิยมได้แก่ลายพันมหาอุ้มหงษ์ นาคสี่แขน ช่อขันหมาก เป็นต้น
ผ้ายกดอก ลวดลายการทอผ้ายกดอกนี้จะมีลวดลายคล้ายกับการทอขิด ส่วนใหญ่จะใช้ดิ้นเงินดิ้นทองเพื่อให้ต่างจากผ้าอื่น ๆ และการทอผ้ายกนี้จะใช้เวลานานมากทำให้มีราคาแพง
อย่างไรก็ตาม ผ้าทอพื้นเมืองในแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทย จะแตกต่างกันไปบ้างตามวัตถุดิบและตามความต้องการของตลาด แต่ก็ยังคงรูปแบบดั้งเดิมไว้ให้ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

ผลงานต่อยอด

NILLA จึงเข้ามาเป็นแพลตฟอร์มที่เข้ามาช่วยคิดและจัดหาแพทเทิร์นเสื้อผ้าลายไทย ในการทดลองสวมใส่เสื้อผ้าเสมือนจริงที่ได้ปรับแต่งเสื้อผ้าเป็นของตัวเอง และรูปแบบของการเลือกซื้อลายผ้าไทย และแพทเทิร์นเสื้อผ้าที่หลากหลายผ่านระบบ Marketplace ผ่าน Designer และ Creator โดยเป็นการสร้างชุมชนสำหรับการจับจ่ายใช้สอยสำหรับการเลือกใช้งานเสื้อผ้าเสมือนจริงสำหรับผู้ที่สนใจการทดลองใส่ผ้าไทยและแพทเทิร์นโดยฝีมือช่างชาวไทย และสามารถที่จะปริ้นท์แพทเทิร์น 2 มิติ พร้อมกับ Specification Sheet และ BOM สำหรับขั้นตอนผลิตจริง

บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

1. นายวงศธร ตั้งดำรงวงศ์
2. นายธนพล ภู่อ่วม
3. นางสาวอนนนัทธ์ สุนทรธัย
4. นายชนชิต มากมี
5. นายวรายุส สายสี
6. นางสาวมิรา กุลรวีสร

ที่อยู่

ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร อาคาร 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900