ข้อมูลวัฒนธรรม

ผ้าทอนาหมื่นศรี

ประเภท

จับต้องได้

หมวดหมู่

วัฒนธรรมการแต่งกาย

ชื่อผลงาน

นาหมื่นศรี

เนื้อหา

นาหมื่นศรีเป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอนาโยง ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดตรัง ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยด้านฝั่งทะเลตะวันตก มีหลักฐานความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตรังเป็นเมืองท่าโบราณที่มีประวัติยาวนานนับพันปี สามารถย้อนกลับไปได้ถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผู้คนยังไม่รู้จักสื่อสารด้วยตัวอักษร มีหลักฐานตามถ้ำเขาต่าง ๆ ว่าบรรพบุรุษของชาวตรังอาศัยอยู่บนแผ่นดินนี้มาไม่น้อยกว่า 5,000 – 10,000 ปี ต่อมาเมื่อเข้าสู่สมัยความรุ่งเรืองของอาณาจักรโบราณในภาคใต้ เช่น ตามพรลิงค์ ศรีวิชัย แม่น้ำตรังเป็นหนึ่งในเส้นทางข้ามคาบสมุทรของผู้คนจากอินเดีย อาหรับ ตลอดจนยุโรป แสดงให้เห็นว่าท่าเรือเมืองตรังเป็นประตูทางผ่านศาสนา การค้าและการทูตจากต่างแดนตั้งแต่เริ่มอาณาจักรโบราณในภาคใต้ โดยเมืองตรังมีชื่อในฐานะเป็นหนึ่งในเมือง 12 นักษัตร ของนครศรีธรรมราช ในอดีต เมืองตรังมักจะถูกกล่าวชื่อในฐานะส่วนหนึ่งของนครศรีธรรมราชมาตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้เปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก และต่อมาเมื่อมีระบบมณฑลเทศาภิบาล ตรังอยู่ในการปกครองของมณฑลภูเก็ต หลังการประกาศยุบเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยมาจนปัจจุบัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ้ายกเป็นที่นิยมในราชสำนักและแวดวงสังคมชั้นสูง จากเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวันวันที่ 29 มิถุนายน 2458 กล่าวถึงในสมัยที่รัชกาล ที่ 6 เสด็จจังหวัดตรัง ว่า “สมุหเทศาภิบาลมณฑลได้ทรงจัดผ้าพรรณทุกอย่างซึ่งเป็นของทำในพื้นบ้าน เช่น ผ้ายก ผ้าราชวัตร ผ้าตาสมุก ผ้าคาด ผ้าเช็ดหน้า ถวายประทานแจกแก่ข้าราชการตามสมควร” และได้ปรากฎหลักฐานจากจดหมายเหตุว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128 ได้ทอดพระเนตรผ้าทอที่เมืองตรัง ข้อความตอนหนึ่งว่า “ใต้ถุนเรือนใช้เป็นที่หัดทอผ้ามีผู้หญิงมาหัดทอมาก” ย่อมแสดงว่าผ้าทอเมืองตรังมีมาก รวมทั้งในชุมชนนาหมื่นศรีด้วย จากเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวันวันที่ 29 มิถุนายน 2458 กล่าวถึงในสมัยที่รัชกาล ที่ 6 เสด็จจังหวัดตรัง ว่า “สมุหเทศาภิบาลมณฑล ได้ทรงจัดผ้าพรรณทุกอย่างซึ่งเป็นของทำในพื้นบ้าน เช่น ผ้ายก ผ้าราชวัตร ผ้าตาสมุก ผ้าคาด ผ้าเช็ดหน้า ถวายประทานแจกแก่ข้าราชการตามสมควร” และได้ปรากฎหลักฐานจากจดหมายเหตุว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128 ได้ทอดพระเนตรผ้าทอที่เมืองตรัง ข้อความตอนหนึ่งว่า “ใต้ถุนเรือนใช้เป็นที่หัดทอผ้ามีผู้หญิงมาหัดทอมาก” ย่อมแสดงว่าผ้าทอเมืองตรังมีมาก รวมทั้งในชุมชนนาหมื่นศรีด้วย

ผลงานต่อยอด

ชุมชนผ้าขาวม้านาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เป็นชุมชนผ้าขาวม้าที่มีศักยภาพ หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน ทั้งเงินทุนและกำลังในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าทอมือ สินค้าแปรรูป ร้านค้าของชุมชน รวมทั้งพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนนาหมื่นศรีเคยสร้างยอดขายปีละหลายแสน แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง ทำให้กลุ่มลูกค้าหลักมีเพียงแค่คนในพื้นที่ที่เป็นข้าราชการ สั่งซื้อสินค้าเพื่อใช้เอง หรือเพื่อเป็นของขวัญในบางโอกาสคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือร่วมกับโครงการประชารัฐ รักสามัคคี และ โครงการ EISA มาเป็นปีที่ 4

บุคคล/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

1. นางสาวกมลศิริ วงศ์หมึก
2. นายปรัชญา พิระตระกูล
3. นายธนิต จึงดำรงกิจ
4. นางสาวณมณ ขันธชวะนะ

ที่อยู่

วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เทคโนโลยี
110/1-4 ถ. ประชาชื่น แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210